วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

แนะนำตัว


สวัสดีคะผู้ที่เข้ามาชมบล็อกนี้ทุกๆ คน   
ดิฉัน ..... 
นางสาวสุดารัตน์ บุญทา (ฝ้าย)
เกิดวันที่ 5 สิงหาคม 2535
ปัจจุบัน (ณ วันก่อตั้งบล็อก) อายุ 20 ปี คะ
ศีกษาอยู่ ชั้นปีืี่ 2 คณะนิเทศศาสตร์ 
สาชาภาพยนตร์และวิดีทัศน์
มหาวิทยาลัยรังสิต คะ ^^

สายพันธุ์


กระต่าย
                กระต่ายที่นิยมเลี้ยงกันในปัจจุบันนั้น มีดังนี้

1. เนเธอร์แลนด์ดวอฟ (Netherland Dwarf )
ลักษณะของสายพันธุ์ 
หูสั้นประมาณ 1 นิ้ว ตั้งขึ้นขนานกัน หรือหูยาวไม่เกิน 2 นิ้ว และขนต้องสั้น หนาแน่น ไม่หยาบกระด้าง เมื่อลูบย้อนแนวเส้นขนจะคืนตัวได้เร็ว








2.อเมริกันฟัซซี่ลอป (American Fuzzy Lop)
ลักษณะของสายพันธุ์
เป็นกระต่ายขนาดเล็ก (Compact Typeฉ จัดอยู่ในกลุ่มกระต่ายแคระ มีลักษณะเด่นคือ มีหูตกสวยงามและมีขนที่ยาวสลวย ลักษณะเด่นอื่นๆ ของสายพันธุ์นี้คือมีลำตัวสั้น กะทัดรัด หัวมีลักษณะกลม ขนาดใหญ่หนาและกว้างจากฐานของหูทั้งสองข้าง หูที่หนา และแบน หูยิ่งสั้นยิ่งถือว่ามีลักษณะที่ดีเพราะว่าเป็นการแสดงถึงลักษณะของกระต่ายแคระ หูจะต้องตกแนบข้างแก้ม หัวโตใหญ่ต่อติดกับหัวไหล่ เหมือนไม่มีคอ หัวแลหูปกคลุมด้วยขนธรรมดา ที่ไม่ใช่ขนยาว ขนที่หน้าสามารถตัดแต่งได้ตามความเหมาะสมและสวยงาม ขาหลังมีขนธรรมดา ฝ่าเท้าหน้าและหนัก ขนที่ตัวหนาแน่นเสมอกันตลอดทั้งตัว ขนควรมีลักษณะค่อนข้างหยาบและมีความยามไม่น้อยกว่า 2 นิ้ว






3.ฮอลแลนด์ ลอป (Holland Lop)
ลักษณะของสายพันธุ์ 
เป็น กระต่ายลอปที่ตัวเล็กที่สุดในบรรดาลอปทั้งหมด จะตัวเล็กที่สุด หน้าสวยที่สุด หน้าจะป้านกว่า ลอปพันธุ์อื่นๆ และที่สำคัญ ฮอลแลนด์ลอปนั้น หูจะต้องไม่ยาวมากค่ะ หากวัดจากเส้นขากรรไกรลงมาแล้วไม่ควรยาวเกิน 1 นิ้วค่ะ และขนยาวไม่เกิน 1 นิ้ว อุปนิสัยจะขี้เล่นค่ะ ขนาด 1.4 กิโลกรัม ถึง 1.8 กิโลกรัม 





4.กระต่ายพันธุ์ไลอ้อน-เฮด (Lion heads)
ลักษณะของสายพันธุ์ 
ป็น กระต่ายพันธุ์ใหม่ที่ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว เหมือนกับเป็น พันธุ์ แฟนซี กล่าวกันว่าต้นกำเนิดอยู๋ ในประเทศเบลเยี่ยม ผู้เพาะพันธุ์กระต่าย พยายามเพาะกระต่ายพันธุ์ดวอร์ฟโค้ท ขนยาว (long Coated Dwarf) ซึ่งมีลักษณะแคระขนยาว โดยข้ามสายพันธุ์ระหว่างกระต่ายพันธุ์สวิส ฟอกซ์เล็ก ผสมกับ กระต่ายพันธุ์เบลเยี่ยมแคระ หรือ ในบางครั้งก็ผสมกับ วู๊ดดี้เจอร์ซี่ กระต่ายพันธุ์ไลอ้อน-เฮด (ซึ่งกลายเป็นสายพันธุ์ที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ ในการพยายามผสม ข้ามสาย พันธุ์ข้างต้น) ในที่สุดก็กลายเป็นสายพันธุ์ ที่ได้รับความนิยมมาก กว่ากระต่ายสายพันธุ์ดวอร์ฟโค้ทขนยาว


5.กระต่ายพันธุ์ แองโกล่า ( Angora Rabbit )
ลักษณะของสายพันธุ์ 
เป็นกระต่ายขนยาวที่สุดในโลก ขนมีลักษณะอ่อนนุ่ม กระต่ายแองโกล่าเป็นกระต่ายสายพันธุ์เก่าแก่ มีต้นกำเนิดมาจาก เมืองแองโกล่า ( Ankara ) ประเทศตรุกี ( Turkey ) เช่นเดียวกับ แมวแองโกล่า และแพะแองโกล่า กระต่ายพันธุ์นี้เป็นที่นิยมในประเทศฝรั่งเศลในยุคกลาง ปี ค.ศ.1700 และเข้ามาในอเมริกาประมาณปี 1900 กระต่ายแองโกล่าแบ่งออกได้เป็น 5 สายพันธุ์ เป็นกระต่ายพันธุ์ขน ชื่อพันธุ์ได้มาจากเมืองแองโกล่า ในตุรกี ขนสีขาวฟูประมาณ 2-3 นิ้ว นิยมตัดมาประดิษฐ์เครื่องแต่งกาย สามารถตัดขนได้ปีละ 4 ครั้ง ให้ขนเฉลี่ยปีละ 600-1750 กรัม โตเต็มที่หนัก 2.4-3.8 กิโลกรัม 






6.กระต่ายพันธุ์ เท็ดดี้ แบร์ (Teddy Bear )
ลักษณะของสายพันธุ์ 

กระต่ายที่มีขนาดกลางๆ มีขนฟูทั่วทั้งตัว ดูน่ารักเหมือนตุ๊กตา มีหลากหลายสี พบได้ง่ายในท้องตลาด
Teddy หรือ Teddy Bear เป็นกระต่ายที่เป็นลูก ผสมเช่นกัน และได้รับการพัฒนาสายพันธุ์มาจาก เจอรี่ วู๊ดดี้ จนค่อนข้างนิ่งในเมืองไทย กระต่ายพันธุ์นี้ มีผู้นิยมเลี้ยงกันมาก เพราะว่า รูปร่างน่ารัก  ขนฟูยาวประมาณ 3-5 นิ้ว คล้ายสุนัขพันธ์ชิสุ และก็มีราคาไม่แพง เพาะพันธุ์ขึ้นจากฟาร์มในเมืองไทย จึงมีเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น ไม่มีในต่างประเทศ







7.กระต่ายพันธุ์ วู๊ดดี้ ทอย(woody toy)
ลักษณะของสายพันธุ์ 
เป็นกระต่ายพันธุ์ขนยาว ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกับกระต่าย Teddy Bear เพราะว่ากระต่าย Woody toy นั้นได้พัฒนาสายพันธุ์ต่อมาจากกระต่าย Teddy Bear โดยทำให้มีขนาดเล็กลงไปอีก ซึ่งกระต่าย Woody Toy เป็นกระต่ายที่มีขนาดค่อนข้างเล็ก มีขนฟูยาวปกคลุมไปทั่วตัวและหน้า แลดูเหมือนก้อนขน มีหลายสี มีขน2 ชั้นคือ  ขนชั้นในและขนชั้นนอก  ขนชั้นนอกควรยาวกว่าขนชั้นใน ขนมีลักษณะตกทิ้งลงข้างลำตัวหรือชี้ฟู  ขนไม่พันกัน  คุณภาพของขนสามารถดูแลได้ง่าย ความยาวของขนไม่ควรต่ำกว่า 2 นิ้ว ส่วนขนาดนั้นน้ำหนักไม่ควรเกิน 1.2 กิโลกรัม ซึ่งกระต่ายสายพันธุ์นี้จะมีนิสัยที่ Alert และอยากรู้อยากเห็นเป็นที่สุด




8.กระต่ายพันธุ์ มินิเร็กซ์ (Minirex)
ลักษณะของสายพันธุ์ 
กระตายสายพันธุ์มินิเร็กซ์เป็นกระต่ายที่มีโครงสร้างสมดุลและได้สัดส่วน ร่างกายของมันกะทัดรัด มีความกว้างสมดุลกับความยาว ข่วงไหล่ ลำตัว และปั้นท้าย ทุกอย่างพัฒนามาอย่างดี หัวไหลแคบกว่าบั้นท้่้ายเล็กน้อย ทำให้ตัวค่อยๆ เรียวลง หัวของตัวเมียค่อยข้างเรียบกว่าหัวของตัวผู้  ขนในอุดมคติต้องยาว 5/8 นิ้้ว (1.6เซนติเมตร) ขนควรตรงและเป็นมัน มีการ์ดแฮร์จำนวนมาก ขนชั้นนอกให้ความรู้สึกนุ่มและสปริงตัว 





9.กระต่ายพันธุ์ เฟลมมิชไจแอนท์ (Flemish Giant) 
ลักษณะของสายพันธุ์ 
จัดอยู่ในกระต่ายสายพันธุ์ยักษ์  น้ำหนักอยู่ที่ 5.9 กิโลกรัม หรือมากกว่า
ซึ่งสีที่สามารถหาได้ เช่น สีดำ โอปอ ส้ม บูล ขาว ฯลฯ







10.กระต่ายพันธุ์ คาลิฟอร์เนีย (Californian Breed) 
ลักษณะของสายพันธุ์ 
เป็นกระต่ายสีขาว มีสีดำหรือเทาที่บริเวณใบหู จมูกเท้า ปลายเท้า และปลายหาง ตาสีชมพู เป็นกระต่ายขนาดกลางโตเต็มที่หนัก 3.5-4.5 กิโลกรัม แคลิฟอร์เนียสายพันธุ์ของกระต่ายในประเทศ ได้รับการพัฒนา ในช่วงต้นปี ค.ศ. 1920 โดยจอร์จเวสต์ กระต่ายแคลิฟอร์เนียเป็นสายพันธ์การผลิตเนื้อสัตว์ เป็นที่นิยมอันดับสองมากที่สุดในโลก คุณภาพขนสัตว์จะช่วยให้กระต่ายนี้ยังจะจัดว่าเป็นสายพันธุ์แฟนซี

การเลี้ยงกระต่าย


-- การเลี้ยงกระต่าย --

การเลี้ยงกระต่ายควรให้หญ้าสดและหญ้าแห้งเป็นอย่างหารหลัก หญ้ามีหลายชนิดที่กระต่ายกินได้ซึ่งมีขายตามท้องตลอดหรือไม่ก็อยู่บริเวณบ้านเรา อาหารเม็ด อาหารเม็ดสำหรับกระต่ายมีหลายยี่ห้อแต่แต่การกินอาหารเม็ดมากเกินไปอาจจะทำให้กระต่ายไม่แข็งแรงดังนั่นเราควรให้อาหารสำหรับกระต่ายเพียงสองครั้งคือตอนเช้าและตอนเย็น ผักและผลไม้ กระต่ายที่มีอายุน้อยกว่า 3 เดือนไม่ควรให้กินผักและผลไม้เพราะจะทำให้กระต่ายท้องเสีย 

โรคกระต่าย

1. พาสเจอร์เรลโลสิส ( Pasturellosis ) โรคนี้มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย พาสเจอเรลลา มัลโตซิดา ซึ่งทำให้กระต่ายป่วย

2. มดลูกอักเสบ กิดจากการติดเชื้อหลังคลอดลูกหรือจากการผสมพันธุ์ 

 3. สแตฟฟิลโลคอคโคซีส ( Staphylococcosis )  ฝีหนองใต้ผิวหนัง เกิดจากการติดเชื้อที่ผิวหนัง ทำให้เป็นหนองซึ่งมีเปลือกหุ้ม

4. โรคบิด (Coccidiosis) ถ้าเป็นน้องจะไม่แสดงอาการ แต่ถ้าเป็นมากซึ่งมักพบในลูกกระต่าย จะทำให้น้ำหนักลด ท้องเสีย อาจถ่ายเป็นน้ำหรือมีเลือดปน

 5. โรคทิซเซอร์ (Tizzer's disease) มักพบในกระต่ายที่มีอายุ 7 - 12 สัปดาห์มากที่สุด อาการ ท้องเสีย ถ่ายเป็นน้ำหรือเลือด

 6. โรคติดเชื้อ อี.โค ไล (Colibacillosis) กระต่ายจะมีอาการท้องเสียอย่างรุนแรงและตายได้ การรักษา แก้ไขตามอาการ อาจให้ยาปฏิชีวนะเพื่อลดจำนวนแบคทีเรียในลำไส้ 
ให้น้ำเกลือ เพิ่มอาหารหยาบ

7. เอ็นเทอร์โรท๊อกซีเมีย (Enterotoxemia) ทำให้กระต่ายท้องเสียหรือตายอย่างเฉียบพลัน การรักษาเช่นเดียวกับโรคติดเชื้ออีโคไล

8. ไรในหู (ear manage or ear canker) อาการ จะเห็นแผ่นสีน้ำตาลคล้ายขี้หูซ้อนเป็นชั้นๆที่ด้านในของใบหู ถ้าสังเกตดีๆจะพบตัวไรขนาดเล็กสีน้ำตาลจำนวนมาก 

9. ไรที่ผิวหนัง ( skin manage ) อาการ ผิวหนังเป็นสะเก็ดหนาและย่น ขนร่วง พบมากที่ปลายจมูก และขอบใบหูการรักษา ขูดผิวหนังให้สะเก็ดหลุดออก

           ดังนั้นการเลี้ยงกระต่ายควรเป็นไปตามขั้นตอนการเลี้ยงที่ถูกต้องคือ การเลี้ยงควรให้หญ้าสดและหญ้าแห้งเป็นอาหารหลัก เสริมผักและผลไม้เล็กน้อย การให้หญ้ามีประโยชน์กับกระต่ายมาก เพราะส่งผลต่อสุขภาพและการขับถ่าย ช่วยในการลับฟันตลอดจนป้องกันปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับฟัน นอกจากนี้ในฤดูฝนและหนาวกระต่ายจะเป็นหวัดและปอดบวมง่าย มีปัญหาเรื่องผิวหนัง ความอับชื้นและเชื้อรา ส่วนฤดูร้อนจะมีปัญหาเรื่อง Heat Stroke หรือการช็อคจากความร้อน เป็นต้น ดังนั้นจึงควรเอาใจใส่และดูแลเขาเป็นพิเศษในฤดูกาลต่าง ๆ และที่สำคัญ ในการอาบน้ำให้กระต่ายในแต่ละครั้งนั้น ควรเป็นไปตามขั้นตอนด้วย เพื่อความปลอดภัยของน้องกระต่ายคะ




คลิปเสียง

สัมภาษณ์ "ผู้ให้คำแนะนำ--ผู้เชี่ยวชาญ"

ป้านี ^^


พี่อาร์ม ^^



สาธิตการอาบน้ำกระต่าย (อาบน้ำแห้งด้วยโฟม)


ขอขอบคุณ คลิปจาก 




บรรณานุกรม


บรรณานุกรม - แหล่งอ้างอิง

ขอบคุณ

-ภาพเพิ่มเติม  จาก      http://www.ecarddesignanimation.com/home/rabbit.php

-ข้อมูลเพิ่มเติมจาก     http://www.bunnyonline.com/

                                     http://xn--12car1d2cdcdo8ipai6a5l6ej.com/

                                     http://lovelyrabbit.som.tripod.com/care/care.html

 -หนังสือ        การเลี้ยงกระต่าย / แต่งโดย กิตติ ฉายากุล

                      คู่มือกระต่าย / แต่งโดย กณิกนันท์ ลีฬฆวรรณ

                      คู่มือสำหรับคนรักกระต่าย / แต่งโดย สมโภชน์ วีระกุล

ผู้ให้คำแนะนำ    (จากคลิปเสียง)    

                              นางจรุณี เทพคำใต้ เจ้าของ แรบบิท ฟาร์ม ใน จังหวัดเชียงราย

                              นายอภิชาติ ไชยวงค์ สัตวแพทย์ จังหวัดเชียงราย

สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์

กระต่าย โดย Sudarat Boonta อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ต้นฉบับ.